วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

สมาชิกในห้องเรียน

         อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค    อาจารย์ปาล์ม
1. นายเกียรติศักดิ์  เกตุอักษร      ไฟท์
2. นายจรณะ  แท่งทอง                เปา
3. นางสาวเฉลิมพร  ศรีมณี          เจล
4. นายชาติศิริ  รัตนชู                   ติ๊บ
5. นายชินวัฒร์  เพชรโสม            แมน
6. นายณฐกร ชัยปาน                  โจ
7. นายณัฐกร สงสม                     จ็อบ
8. นายณัฐพล วงศ์สุขมนตรี        เกมส์
9. นางสาวทัศนีย์วรรณ กาญจโนภาส  ษารี
10. นายธัณวัตร์ แก้วบุษบา          ธัน
11. นายนราธร จันทรจิตร               เนม
12. นางสาวนิชาภัทร เพ็ชรวงค์    แอม
13. นางสาวเบญญทิพย์ ฆังคสุวรรณ  อาย
14. นางสาวปัถยา บุญชูดำ           ปัด
15. นายพศวัต บุญแท่น               อ็อฟ
16. นางสาวแพรพลอย พรหมประวัติ  แพรรี
17. นายไฟซ้อล ประชานิยม       ซอล
18. นายภูมิภัทร์ สรรนุ่ม              อ้วน
19. นายยศกร บัวดำ                   ทาย
20. นางสาวรัฐชา วงศ์สุวรรณ   เบ้น
21. นายเรืองศักดิ์ ใหม่แก้ว       เอ็ม
22. นางสาววลีพร ลิขิตธีระกุล  นุ๊ก
23. นายวาทิศ อินทร์ปราบ       รถเบ้น
24. นางสาววิภารัตน์ ดำสุข      ออม
25. นางสาวศศิธร ชูปาน           จูน
26. นายศุภกิจ ติเสส                ดุก
27. นายเศรษฐชัย ฐินะกุล       ตาล
28. นายสราวุธ จันทร์แก้ว        ฟิมล์
29. นายสุชาครีย์ งามศรีตระกูล  แปะ
30. นายสุริยา หวันสะเม๊าะ       ดิง
31. นายอนันต์ อาแว             นัง
32. นายอนุวัช นุ่นเอียด       ก้อฟ
33. นายอภิชัย เสวาริท        บอล
34. นางสาวอรอุมา หมากปาน  ญาญ่า

วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบ As/Rs

ระบบ As/Rs


    ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ  การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
   - Unit Load AS/RS
   - Miniload AS/RS
   - Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
   - Automated Item Retrieval System
   - Deep-Lane AS/RS
     องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
    1.โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
    2.เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
    3.หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
    4.สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)
อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
   1.รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
   2.อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
   3.สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
   4.สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)
การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
   การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
   1.จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
   2. หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
   3.ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
   1.ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
   2.สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
   3.ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
   4.สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
   5.ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
   6.สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

ระบบการจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ Automated Storage/Retrieval System (AS/RS)
       คือ ระบบบริหาร การจัดเก็บสินค้า เก็บวัตถุอัตโนมัติ เหมาะกับบริษัทที่ต้องการลดการใช้งานพื้นที่ หรือต้องการเพิ่ม ปริมาณในการจัดเก็บมากขึ้น เช่น คลังสินค้า, โกดังสินค้า, อาคารจอดรถอัตโนมัต, ห้องเก็บสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น
     ระบบ ASRS จะมีการทำงานควบคู่อัตโนมัติอย่างเป็นระบบอยู่ 2 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ใช้เทคโนโลยีโรบอทอัตโนมัติ 
กับซอร์ฟแวร์ที่ สามารถพัฒนา นำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่

ประโยชน์ที่จะได้รับ
            ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า, ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า, เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า, ทำงานรวดเร็ว แม่นยำ, บริหารทรัพยากรบุคคล, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
  
รูปภาพตัวอย่าง ระบบ As/Rs







 วีดีโอ ตัวอย่าง ระบบ As/Rs



วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม


หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม


        ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีสายการผลิตด้วยเครื่องจักรกลประเภทหุ่นยนต์ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติในสายการผลิตที่จำเป็นอย่างยิ่งแต่หุ่นยนต์ในโรงงานเหล่านี้ยังแยกอยู่คนละแผนกหรือบริเวณกับมนุษย์อย่างชัดเจนทำหน้าที่ยกหรือประกอบของหนักทำงานซ้ำๆ กัน ตามคำสั่งที่โปรแกรมมันไว้ล่วงหน้าในขณะที่มนุษย์จะทำงานในส่วนที่ละเอียดอ่อนกว่าและอันตรายน้อยกว่า
          แต่ในโรงงานแห่งอนาคต มันจะไม่เป็นอย่างนั้นเราจะเห็นมนุษย์กับหุ่นยนต์ทำงานเคียงคู่กัน และช่วยเหลือกันด้วยซ้ำหุ่นยนต์จะช่วยมนุษย์ทำงานในส่วนที่เกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ เช่น งานประกอบที่เล็กและละเอียดจนมนุษย์ อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น ในโรงงานผลิตเครื่องบินของ Boeingหุ่นยนต์ช่วยวิศวกรในการจัดเตรียมหาเครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในการประกอบเครื่องบิน ทำให้ลดเวลาในการทำงานเพราะวิศวกรไม่ต้องเสียเวลาเดินไปหยิบชิ้นส่วนเหล่านั้นเองเพราะต้องยอมรับว่างานประกอบบางอย่างซับซ้อน และต้องการประสบการณ์ในการตัดสินใจแก้ปัญหาจึงเป็นการยากที่หุ่นยนต์จะทำงานเช่นนั้นได้แต่หุ่นยนต์สามารถเป็นผู้ช่วยหรือลูกมือที่ดีได้
          นอกจากนี้หุ่นยนต์เหล่านี้ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ยังทำงานไม่เหมือนกันในแต่ละตัวในแต่ละสถานี โดยมันจะทำงานแตกต่างกันตามลักษณะการทำงานของวิศวกรแต่ละคนที่มันทำงานด้วยเพราะมันมีอัลกอลิธึมที่ทำให้มันสามารถเรียนรู้และปรับตัวในเข้ากับการทำงานของแต่ละคนทำให้มันสามารถทำนายและล่วงรู้หน้าว่า คนที่ทำงานกับมันจะทำอะไรต่อไป เรียกว่า รู้ใจและเข้าขากันเลยทีเดียว ตัวอย่างหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ในปัจจุบัน ได้แก่ FRIDA ซึ่งย่อมาจาก Friendly Robot for Industrial Dual-arm Assembly ซึ่งผลิตโดยบริษัท ABB ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มันเป็นหุ่นยนต์อเนกประสงค์ที่ไม่มีหัวหรือหน้า มีแต่สองแขนที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระแบบ 7 แกน มีมอเตอร์เซอโวที่สามารถทำให้มันจับสิ่งของด้วยความปราณีต มันสามารถเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยได้เป็นอย่างดี มันสามารถขันน๊อตหรืออัดกาวเข้าไปในรูน๊อต ซึ่งเป็นขั้นตอนในการประกอบปีกเครื่องบินโบอิ้งแล้วให้วิศวกรเป็นคนตอกน๊อตเข้าไป หรือแม้แต่ในงานเกี่ยวกับการแพทย์ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์ FRIDA ก็สามารถเป็นผู้ช่วยได้เป็นอย่างดี เช่น มันถูกใช้เพื่อเป็นผู้ช่วยของศัลยแพทย์ที่กำลังทำการผ่าตัดมันสามารถส่งเครื่องมือผ่าตัดให้แก่ศัลยแพทย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำความจริง FRIDA เป็นเพียงหนึ่งในหุ่นยนต์ที่หลายบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์เพื่อการใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมกำลังวิจัยและผลิตออกมาสู่ท้องตลาดรวมทั้งเจ้า Nextage ที่ผลิตโดยบริษัท Kawada Industries และ Motoman SDA10D ที่ผลิตโดยบริษัท Yaskawa ประเทศญี่ปุ่น มันจะเป็นหุ่นยนต์ที่เบากว่าปลอดภัยกว่า ง่ายต่อการโปรแกรมใช้งาน และที่สำคัญราคาถูกลงเราเรียกหุ่นยนต์พวกนี้ว่า หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 2.0 (Industrial Robot 2.0)


วีดีโอ ตัวอย่าง หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม


สมาชิกในห้องเรียน          อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค    อาจารย์ปาล์ม 1. นายเกียรติศักดิ์  เกตุอักษร       ไฟท์ 2. นายจรณะ  แท่งทอง    ...